เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 1. สจิตตวรร 3. ฐิติสูตร
เหมือนสตรีหรือบุรุษที่ยังหนุ่มสาว มีปกติชอบแต่งตัว ส่องดูเงาหน้าของตนในกระจก
เงาอันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง หรือในภาชนะน้ำที่ใส ถ้าเห็นธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้น ก็
พยายามขจัดธุลีหรือจุดดำนั้นเสีย หากไม่เห็นธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้น ก็ดีใจ ภูมิใจ
ด้วยเหตุนั้นเองว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ หน้าของเราบริสุทธิ์แล้วหนอ’
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มีอภิชฌาอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิต
พยาบาทอยู่โดยมาก เป็นผู้มีถีนมิทธะกลุ้มรุมอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านอยู่โดย
มาก เป็นผู้มีความสงสัยอยู่โดยมาก เป็นผู้มักโกรธอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตเศร้าหมอง
อยู่โดยมาก เป็นผู้มีกายกระสับกระส่ายอยู่โดยมาก เป็นผู้เกียจคร้านอยู่โดยมาก
เป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่โดยมาก’ ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความ
อุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง
เพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น
ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น
ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น
เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าที่ถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะที่ถูกไฟไหม้ ทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและ
สัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อดับไฟที่ไหม้ผ้าหรือไฟที่ไหม้ศีรษะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ไม่มีอภิชฌาอยู่โดย
มากเป็นผู้มีจิตไม่พยาบาทอยู่โดยมาก เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะอยู่โดยมาก เป็นผู้
ไม่ฟุ้งซ่านอยู่โดยมาก เป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัยแล้วอยู่โดยมาก เป็นผู้ไม่มักโกรธอยู่
โดยมาก เป็นผู้มีจิตไม่เศร้าหมองอยู่โดยมาก เป็นผู้มีกายไม่กระสับกระส่ายอยู่โดย
มาก เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นอยู่โดยมาก’ ภิกษุนั้นควร
ตั้งมั่นอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นแล้วทำความเพียรเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ให้ยิ่งขึ้นไป
ฐิติสูตรที่ 3 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :115 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 1. สจิตตวรรค 4. สมถสูตร
4. สมถสูตร
ว่าด้วยความสงบแห่งจิต
[54] ภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุไม่ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่น เมื่อเป็นเช่นนั้น
ภิกษุพึงสำเหนียกว่า ‘เราจักเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้ง
หลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
ภิกษุฉลาดในวาระจิตของตน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุมีการพิจารณาที่เป็นอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลายว่า ‘เราได้
ความสงบแห่งจิตภายในหรือไม่ได้หนอ เราได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
หรือไม่ได้หนอ’ เปรียบเหมือนสตรีหรือบุรุษที่ยังหนุ่มสาว มีปกติชอบแต่งตัว ส่องดู
เงาหน้าของตนในกระจกเงาอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง หรือในภาชนะน้ำที่ใส ถ้าเห็นธุลีหรือ
จุดดำที่หน้านั้น ก็พยายามขจัดธุลีหรือจุดดำนั้นเสีย หากไม่เห็นธุลีหรือจุดดำนั้น
ก็ดีใจ ภูมิใจ ด้วยเหตุนั้นเองว่า ‘เป็นลาภของเรา หน้าของเราบริสุทธิ์แล้วหนอ’
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ‘เราได้ความสงบแห่งจิตภายใน แต่ไม่ได้
ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง’ ภิกษุนั้นควรตั้งมั่นในความสงบแห่งจิตภายใน
แล้วทำความเพียรเพื่อความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งเถิด สมัยต่อมา ภิกษุนั้น
ได้ทั้งความสงบแห่งจิตภายใน และความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ‘เราได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
แต่ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายใน’ ภิกษุนั้นควรตั้งมั่นอยู่ในความเห็นแจ้งธรรมด้วย
ปัญญาอันยิ่งแล้วทำความเพียรเพื่อความสงบแห่งจิตภายในเถิด สมัยต่อมา ภิกษุ
นั้นได้ทั้งความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง และความสงบจิตภายใน
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ‘เราไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายใน และความ
เห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง’ ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความ
อุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง
เพื่อได้กุศลธรรมเหล่านั้นเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :116 }